Sahaporntool

บทความ

วิศวะชวนรู้! การทำ TPM ในการทำงานอุตสาหกรรม

การทำงานในอุตสาหกรรมนั้นมีเครื่องจักรและอุหกรณ์อื่น ๆ เป็นปัจจัยหลักในการทำงาน จึงต้องมีกระบวนการในการดูแล ซ่อมแซม และรักษาจากผู้ใช้งานอย่างถูกวิธี เพื่อการใช้งานที่ยาวนานและความปลอดภัยในการใช้งาน

กระบวนการ TPM หรือ Total Productive Maintenance

แนวคิดหรือหลักการที่สำหรับการดูแลรักษาอุปกรณ์และเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมจากทุก ๆ ฝ่าย รวมทั้งผู้ที่ปฏิบัติงานนนั้นมีความเข้าใจในกระบวนการทำงานของเครื่องจักรแต่ละชนิดเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมให้การทำงานกับเครื่องจักรขนาดใหญ่ รวมไปถึงอุปกรณ์การทำงานส่วนตัว มีความปลอดภัยต่อการทำงานของผู้ปฏิบัติงานมากขึ้น

หลักการของ TPM นั้นมีเป้าหมาย 4 No

เป้าหมายสำคัญในการดำเนินการดูแล ซ่อมแซม และรักษาเครื่องจักรในโรงงานฯ ของหลัก TPM เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการทำงาน

  • No Breakdown (ไม่มีการหยุดทำงาน)

อุปกรณ์และเครื่องจักรจะต้องไม่หยุดทำงาน ไม่เสียหาย หรือไม่สามารถดำเนินการทำงานต่อได้ จึงต้องมีการบำรุงรักษาเชิงป้องกันและการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ

  • No Small Stops or Slow Running (ไม่มีการหยุดทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือการทำงานช้า)

อุปกรณ์หรือเครื่องจักรต้องไม่มีการหยุดทำงานแบบเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือปัญหาที่ทำให้การทำงานช้าลง สามารถป้องกันโดยการตรวจสอบและการดูแลรักษาเบื้องต้นโดยพนักงาน

  • No Defects (ไม่มีของเสียหรือความผิดพลาด)

ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่ผลิตจะต้องไม่มีของเสียหรือมีความผิดพลาด การมุ่งเน้นในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงสุด และการตรวจสอบคุณภาพในทุกขั้นตอนของการผลิต

  • No Accidents (ไม่มีอุบัติเหตุ)

ระหว่างการทำงานหรือปฏิบัติงานนั้นจะต้องไม่มีอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน จึงต้องมีการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย การฝึกอบรมพนักงานให้มีความเชี่ยวชาญ  และการตรวจสอบเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างต่อเนื่อง

เสาหลัก 8 ประการของ TPM (Total Productive Maintenance)

  1. การปรับปรุงตามสมรรถนะ (Focused Improvement หรือ Kobetsu Kaizen) – มุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการผลิต โดยการระบุและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ รวมทั้งเพื่อลดการสูญเสียในขั้นตอนการผลิต
  1. การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance หรือ Jishu Hozen) – ส่งเสริมให้พนักงานที่ปฏิบัตรงานใกล้ชิดกับเครื่องจักรมีบทบาทในการบำรุงรักษาเบื้องต้น เช่น การทำความสะอาด การตรวจสอบ และการปรับแต่งเครื่องจักร
  1. การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Planned Maintenance) – การวางแผนและดำเนินการบำรุงรักษาเชิงป้องกันอย่างมีระบบ เพื่อลดการหยุดชะงักและการเสียหายของเครื่องจักร
  1. การฝึกอบรมและพัฒนาทักษะ (Training and Education) – การฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของพนักงานในทุกระดับ เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการบำรุงรักษา และการปรับปรุงกระบวนการการทำงาน
  1. การบำรุงรักษาคุณภาพ (Quality Maintenance) – การบำรุงรักษาเพื่อรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยการป้องกันและลดอัตราการเกิดข้อบกพร่องในกระบวนการผลิต
  1. การบำรุงรักษาในขั้นต้น (Initial Phase Management) – การออกแบบเพื่อติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ใหม่ โดยคำนึงถึงความสะดวกในการบำรุงรักษาและการใช้งานที่มีประสิทธิภาพเป็นหลักสำคัญ
  1. การบำรุงรักษาด้านความปลอดภัย สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อม (Safety, Health, and Environment Maintenance) – การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย ปราศจากอุบัติเหตุ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  1. การบำรุงรักษาเชิงบูรณาการ (Office TPM หรือ Administrative & Support TPM) – การนำแนวคิด TPM มาประยุกต์ใช้ในงานด้านสำนักงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการสูญเสียในกระบวนการทั้งหมดขององค์กร

หลักการ TPM นั้นมุ่งเน้นเพื่อการบำรุงรักษาและใช้งานเครื่องจักรในอุตสาหกรรมอย่างถูกวิธี เพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน คุณภาพในการทำงาน และความปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่ทุก ๆ โรงงานอุตสาหกรรมควรนำไปประยุกต์ใ้ช้ในการทำงาน

หากผู้ประกอบการที่ต้องการสั่งผลิตเครื่องจักร แม่พิมพ์ หรือเครื่องมือทางวิศวกรรม สหพรทูลพร้อมให้คำปรึกษาและคำแนะนำด้วยประสบการณ์ด้านการผลิตชิ้นงานมามากกว่า 42 ปี ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อที่เว็บไซต์ http://sahaporntool.com หรือโทร 083-495-4402 หจก.สหพรทูล ผู้นำในการผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมที่มีความละเอียด แม่นยำและคุณภาพสูงตรงตามความต้องการของลูกค้า

Tag :