Sahaporntool

บทความ

วิศวะชวนรู้! ดอกต๊าปเกลียว (Taps)

การสร้างเกลียวในวัสดุต่างๆ เพื่อทำให้ชิ้นงานสามารถประกอบเข้าด้วยกันได้ถือเป็นเรื่องพื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตทั้งเล็กและใหญ่ ซึ่งในกระบวนการการสร้างเกลียวนั้น ‘ดอกต๊าปเกลียว’ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในกระบวนการนี้ การใช้ดอกต๊าปอย่างเข้าใจจะช่วยให้การทำงานในมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

กระบวนการต๊าปเกลียว (Tapping process) 

กระบวนการสร้าง ‘เกลียว’ โดยการตัดหรืออัดเกลียวบนเนื้อวัสดุ มักจะนำไปใช้ในการยึดชิ้นงานด้วยการหมุนเกลียวให้เข้ากันพอดี และอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการนี้ก็คือ “ดอกต๊าปเกลียว” ซึ่งการควบคุมการหมุนของการทำเกลียวต้องสามารถหมุนไปและหมุนกลับได้ด้วยความเร็วที่ถูกควบคุมอย่างดี เพื่อป้องกันแรงกดที่มากเกินไปจนทำให้ดอกต๊าปแตกเสียหาย

ดอกต๊าปเกลียว (Tapping)

คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างเกลียวให้กับชิ้นงาน ไม่ว่าจะเป็นเกลียว (M) metric, เกลียว G, เกลียว R และเกลียวชนิดอื่น ๆ ซึ่งเกลียวที่เกิดจากการต๊าปนั้นมีทั้งเกลียวในและเกลียวนอก ดอกต๊าปมีการใช้งานในอุตสาหกรรมการผลิตอย่างแพร่หลายทั้งในผู้ผลิตขนาดเล็กและผู้ผลิตขนาดใหญ่ การใช้งานดอกต๊าปได้ถูกชนิดและถูกวิธี จะช่วยขนาดของรูเกลียวที่ได้เป็นขนาดมาตรฐาน

มุมพิตช์ (PITCH)

คือ ระยะจากสันเกลียวหนึ่งไปยังอีกสันเกลียวหนึ่งบนดอกต๊าป และวัสดุอื่นๆ ที่เป็นเกลียว ซึ่งจะมีขนาดมาตรฐาน เมื่อทำเกลียวในที่ได้มุมพิตช์ที่ถูกต้องก็จะสามารถสวมน๊อตหรือนำอุปกรณ์ที่ได้รับการดายส์ (ทำเกลียวนอก) ได้อย่างพอดีตามขนาดมาตรฐาน

5 รูปแบบของดอกต๊าปเกลียว

  1. ดอกต๊าปร่องตรง (Straight Flute Tap) ดอกต๊าปแบบมาตรฐานที่ถูกผลิตมาเพื่อการทำเกลียวได้ทั้งเกลียวแบบทะลุและแบบรูตัน โดยสามารถทำเกลียวได้ดีบนวัสดุที่ทำมาจากเหล็กหล่อ ทำให้ดอกต๊าปชนิดนี้ถูกใช้ในการผลิตขนาดเล็กได้อย่างเหมาะสม
  2. ดอกต๊าปร่องเกลียว (Spiral Flute Tap) ออกแบบให้ระหว่างแต่ละเกลียวตัดมีร่องระบายเศษอยู่ โดยในขณะที่ทำการต๊าปเศษของวัสดุจะถูกดันกลับออกมาตามร่อง ซึ่งเกลียวจะมีองศาที่แตกต่างกันเพื่อให้เหมาะสมกับความเร็วรอบในการใช้งาน
  3. ดอกต๊าปปลายร่องเฉียง (Spiral Point Tap) ดอกต๊าปปลายร่องเฉียงจะมีลักษณะคล้ายกับดอกต๊าปแบบร่องตรง แต่มีความพิเศษตรงที่บริเวณปลายของดอกจะมีร่องที่ช่วยในการดันเศษวัสดุไปด้านหน้าทำให้เศษไม่ติดอยู่ในรูที่ทำการต๊าป
  4. ดอกต๊าปมือ (Hand Tap) ดอกต๊าปมือทำมาจากเหล็กกล้าผสมคาร์บอน หรือเหล็กกล้าความเร็วรอบสูง เมื่อถูกนำไปขึ้นรูปให้กลายเป็นดอกต๊าปที่พร้อมสำหรับการใช้งานแล้วจะมีความแข็งมาก จึงเหมาะกับการใช้ทำเกลียวกับวัสดุที่มีความแข็ง
    • ดอกต๊าปเรียว (Taper) : ต๊าปเกลียวชนิดนี้มีปลายเกลียวที่เรียวอยู่ประมาณ 8 – 9 ฟัน
    • ดอกต๊าปตัวตาม (Plug) : ต๊าปเกลียวชนิดนี้มีปลายเกลียวที่เรียวอยู่ประมาณ 4 – 5 ฟันใช้เพื่อขยายขนาดของเกลียว ซึ่งใช้ดอกต๊าปชนิดนี้แทนดอกต๊าปเรียวได้ในบางงานเช่นกัน
    • ดอกต๊าปตัวสุดท้าย (Bottom) : ต๊าปเกลียวชนิดนี้มีปลายเกลียวที่เรียวอยู่ประมาณ 1 – 2 ฟัน ใช้ทำเพื่อทำให้เกลียวมีฟันที่เสมอกัน
  1. ดอกต๊าปรีดเกลียว (Forming Tap) ดอกต๊าปรีดเกลียวสร้างเกลียวด้วยการรีดหรืออัดขึ้นรูปวัสดุภายในรู ทำให้ในระหว่างการทำเกลียวจะไม่มีเศษเกิดขึ้นเลย เนื่องจากเศษถูกอัดเข้าไปในเนื้องาน ทำให้ข้อดีของดอกต๊าปชนิดนี้คือไม่สร้างเศษในระหว่างทำเกลียว และวัสดุที่ถูกสร้างเกลียวก็ยังมีความแข็งแรงขึ้นเนื่องจากเศษวัสดุได้อัดเข้าไปในเนื้อวัสดุ

กระบวนการต๊าปในอุตสาหกรรมการผลิตนั้นเป็นสิ่งที่นิยมทำกันอย่างมาก สำหรับการเชื่อมให้วัสดุเข้าหากัน เนื่องจากมีต้นทุนไม่สูงมากนักและได้ประสิทธิภาพที่ดี แต่ต้องเลือกดอกต๊าปให้เหมาะสมกับชนิดของวัสดุและขนาดของเกลียวที่ต้องการ

หากผู้ประกอบการที่ต้องการสั่งผลิตเครื่องจักร แม่พิมพ์ หรือเครื่องมือทางวิศวกรรม สหพรทูลพร้อมให้คำปรึกษาและคำแนะนำด้วยประสบการณ์ด้านการผลิตชิ้นงานมามากกว่า 42 ปี ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อที่เว็บไซต์ http://sahaporntool.com หรือโทร 083-495-4402 หจก.สหพรทูล ผู้นำในการผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมที่มีความละเอียด แม่นยำและคุณภาพสูงตรงตามความต้องการของลูกค้า

Tag :